พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เหรียญหันข้างหล...
เหรียญหันข้างหลวงพ่อเงิน ปี 2513 วัดดอนยายหอม จ. นครปฐม
เหรียญหลวงพ่อเงินหันข้าง 80 ปี หรือ เหรียญหลวงพ่อเงินพันชั่ง

ว่ากันด้วยเรื่องการสร้างเหรียญรุ่นนี้คงต้องย้อนกลับไปในปี 2513 เมื่อคราวหลวงพ่ออายุครบ 80 ปี ในวันที่ 13 กันยายน 2513 ซึ่งถือว่าเป็นแซยิดครั้งหนึ่งเช่นกัน ทางกรรมการวัดได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างพระขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อฉลองวาระนั้นไว้เป็นที่ระลึก โดยหลวงพ่อท่านได้อนุญาตจัดสร้างออกมากเป็น 2 แบบ คือพระกริ่งชุดหนึ่งและเหรียญปั๊มรูปเหมือนอีกชุดหนึ่ง โดยพระกริ่งนั้นคือกริ่งพันตึงทอง ที่ผมเคยกล่าวไว้ในเรื่องคนหล่อแห่งดอนยายหอมไปแล้ว จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้อีก โดยส่วนเหรียญปั๊มนั้นได้ตัดสินใจให้สร้างมาเป็นเหรียญรูปไข่ขนาดกำลังงาม คือสูงราว 2 นิ้วและกว้างราว 1.2 นิ้ว โดยกำหนดให้มีเอกลักษณ์กว่ารุ่นอื่นตรงที่รูปเหมือนหลวงพ่อนั้นจะไม่ใช่หน้าตรงเหมือนรุ่นก่อนๆ แต่จะใช้รูปเหมือนหันข้างของหลวงพ่อแทน

สัณฐานรูปทรงเหรียญเป็นเหรียญไข่หูในตัวขนาดอย่างที่บอกไว้ข้างต้น เว้นแต่บล็อกไข่ยาวที่จะมีความยาวกว่าบล็อกอื่นคือยาวราว 2.2 นิ้ว และกว้างราว 1 นิ้ว แต่ทั้ง 4 บล็อกล้วนมีลักษณะโดยรวมเหมือนกัน คือทรงไข่ ด้านหน้าเส้นขอบใหญ่และหน้า มีตัวหนังสือคำว่า หลวงพ่อเงิน ๘๐ อยู่ด้านล่างประกบด้วยกนกเปลวเพลิง ด้านบนมีชุดยันต์ขอมอ่านว่า อะ สัง วิ สุ โร อุ สะ พุ ภะ โดยนี่คือคาถามงคลเก้าที่ย่อเอามาแล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หลวงพ่อจะเป็นคนตั้งให้ชื่อว่าเหรียญพันตำลึงทองนั่นเอง ในส่วนตรงกลางจะมีรูปหลวงพ่อหันข้างอยู่กลางเหรียญ พื้นเหรียญเรียบเว้นแต่จะมีเส้นเสี้ยนของบล็อกเท่านั้น ส่วนด้านหลัง จะมีชุดยันต์ นะ ทรหด อยู่ตรงกลาง ด้านล่างมีหนังสือแถวตรงว่าพระราชธรรมาภรณ์และล่างสุดเป็นหนังสือแถวโค้ง 20 มีนาคม 2513 คือวันที่ปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้นั่นเอง ในส่วนของพื้นด้านหลังจะมีจุดไข่ปลาจำนวนมาก นอกจากนี้เอกลักษณ์ด้านหลังของพระรุ่นนี้จะมียันต์แบบเต็มและขาด คือบริเวณท้องยันต์นะทรหดนั้นตื้นเลือนปั๊มไม่เต็ม ซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์ชำรุดจากการปั๊ม

ในส่วนของพิมพ์และบล็อกนั้นรุ่นนี้มีด้วยกัน 2 พิมพ์ 4 บล็อก คือ พิมพ์หน้าเดียวและสองหน้า ส่วนบล็อกคือบล็อกทองคำนิยมสุด บล็อกวงเดือนนิยม บล็อกสายฝนและบล็อกไข่ยาว โดยทั้งพิมพ์และบล็อกจะขอไล่อธิบายต่อไป ส่วนเนื้อหานั้นมีการสร้างออกมา 5 เนื้อ คือเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะ เนื้อทองแดงรมดำและทองแดงกระไหล่ทอง

จำนวนการสร้าง
- เนื้อทองคำ 801 องค์
- เนื้อเงิน 2513 องค์
- เนื้อนวะ (ไม่แน่ชัด แต่น้อยกว่าเนื้อเงิน)
- เนื้อทองแดงรมดำ 80,081 องค์

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.donyaihom.com/
ผู้เข้าชม
22069 ครั้ง
ราคา
โทรถามครับ
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
โชติกพระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0944619994
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 103-4-06794-0

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Popgomesทองธนบุรีโกหมูพีช อัครเจริญสุขSpiderman
พล ปากน้ำจ่าดี พระกรุเนินพระ99Kumpangtookrangsitnengggg
มงคลเก้าaonsamuiขนุนฉลองกรุงponsrithong2เปียโนjocho
holypanyadvmErawanนิรวัจ พิมายน้ำตาลแดงchaithawatอ้วนโนนสูง
buachomphuchaokohzxc12056บี บุรีรัมย์Nithipornอภินันต์ พระเครื่อง

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1279 คน

เพิ่มข้อมูล

เหรียญหันข้างหลวงพ่อเงิน ปี 2513 วัดดอนยายหอม จ. นครปฐม



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
เหรียญหันข้างหลวงพ่อเงิน ปี 2513 วัดดอนยายหอม จ. นครปฐม
รายละเอียด
เหรียญหลวงพ่อเงินหันข้าง 80 ปี หรือ เหรียญหลวงพ่อเงินพันชั่ง

ว่ากันด้วยเรื่องการสร้างเหรียญรุ่นนี้คงต้องย้อนกลับไปในปี 2513 เมื่อคราวหลวงพ่ออายุครบ 80 ปี ในวันที่ 13 กันยายน 2513 ซึ่งถือว่าเป็นแซยิดครั้งหนึ่งเช่นกัน ทางกรรมการวัดได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างพระขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อฉลองวาระนั้นไว้เป็นที่ระลึก โดยหลวงพ่อท่านได้อนุญาตจัดสร้างออกมากเป็น 2 แบบ คือพระกริ่งชุดหนึ่งและเหรียญปั๊มรูปเหมือนอีกชุดหนึ่ง โดยพระกริ่งนั้นคือกริ่งพันตึงทอง ที่ผมเคยกล่าวไว้ในเรื่องคนหล่อแห่งดอนยายหอมไปแล้ว จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้อีก โดยส่วนเหรียญปั๊มนั้นได้ตัดสินใจให้สร้างมาเป็นเหรียญรูปไข่ขนาดกำลังงาม คือสูงราว 2 นิ้วและกว้างราว 1.2 นิ้ว โดยกำหนดให้มีเอกลักษณ์กว่ารุ่นอื่นตรงที่รูปเหมือนหลวงพ่อนั้นจะไม่ใช่หน้าตรงเหมือนรุ่นก่อนๆ แต่จะใช้รูปเหมือนหันข้างของหลวงพ่อแทน

สัณฐานรูปทรงเหรียญเป็นเหรียญไข่หูในตัวขนาดอย่างที่บอกไว้ข้างต้น เว้นแต่บล็อกไข่ยาวที่จะมีความยาวกว่าบล็อกอื่นคือยาวราว 2.2 นิ้ว และกว้างราว 1 นิ้ว แต่ทั้ง 4 บล็อกล้วนมีลักษณะโดยรวมเหมือนกัน คือทรงไข่ ด้านหน้าเส้นขอบใหญ่และหน้า มีตัวหนังสือคำว่า หลวงพ่อเงิน ๘๐ อยู่ด้านล่างประกบด้วยกนกเปลวเพลิง ด้านบนมีชุดยันต์ขอมอ่านว่า อะ สัง วิ สุ โร อุ สะ พุ ภะ โดยนี่คือคาถามงคลเก้าที่ย่อเอามาแล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หลวงพ่อจะเป็นคนตั้งให้ชื่อว่าเหรียญพันตำลึงทองนั่นเอง ในส่วนตรงกลางจะมีรูปหลวงพ่อหันข้างอยู่กลางเหรียญ พื้นเหรียญเรียบเว้นแต่จะมีเส้นเสี้ยนของบล็อกเท่านั้น ส่วนด้านหลัง จะมีชุดยันต์ นะ ทรหด อยู่ตรงกลาง ด้านล่างมีหนังสือแถวตรงว่าพระราชธรรมาภรณ์และล่างสุดเป็นหนังสือแถวโค้ง 20 มีนาคม 2513 คือวันที่ปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้นั่นเอง ในส่วนของพื้นด้านหลังจะมีจุดไข่ปลาจำนวนมาก นอกจากนี้เอกลักษณ์ด้านหลังของพระรุ่นนี้จะมียันต์แบบเต็มและขาด คือบริเวณท้องยันต์นะทรหดนั้นตื้นเลือนปั๊มไม่เต็ม ซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์ชำรุดจากการปั๊ม

ในส่วนของพิมพ์และบล็อกนั้นรุ่นนี้มีด้วยกัน 2 พิมพ์ 4 บล็อก คือ พิมพ์หน้าเดียวและสองหน้า ส่วนบล็อกคือบล็อกทองคำนิยมสุด บล็อกวงเดือนนิยม บล็อกสายฝนและบล็อกไข่ยาว โดยทั้งพิมพ์และบล็อกจะขอไล่อธิบายต่อไป ส่วนเนื้อหานั้นมีการสร้างออกมา 5 เนื้อ คือเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะ เนื้อทองแดงรมดำและทองแดงกระไหล่ทอง

จำนวนการสร้าง
- เนื้อทองคำ 801 องค์
- เนื้อเงิน 2513 องค์
- เนื้อนวะ (ไม่แน่ชัด แต่น้อยกว่าเนื้อเงิน)
- เนื้อทองแดงรมดำ 80,081 องค์

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.donyaihom.com/
ราคาปัจจุบัน
โทรถามครับ
จำนวนผู้เข้าชม
22226 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
โชติกพระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0944619994
ID LINE
0944619994
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 103-4-06794-0




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี